9 หลักการ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

8134
เรียน

ทักษะในการเรียนรู้สิ่งต่างๆของคนเรา ควรเริ่มที่การฝึกฝน เพื่อให้คุณหรือลูกๆหลานๆเรียนรู้ทักษะต่างๆได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วันนี้ทาง Sumrej.com จึงมีหลักการดีๆจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ทั้ง 9 ข้อมาฝาก

1.ทักษะคือสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

หากคุณต้องการฝึกเล่นกีตาร์ มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คุณจะสามารถเล่นกีตาร์เป็นเลยในครั้งแรก ดังนั้นคุณควรจะเริ่มจากจุดเล็กๆ อย่างการฝึกดีดคอร์ดง่ายๆ ดีดจนชำนาญ แล้วค่อยเปลี่ยนไปฝึกอะไรที่ยากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไป ทักษะเล็กๆน้อยๆที่คุณได้สะสมไว้ จะช่วยทำให้คุณสามารถเล่นกีตาร์ได้อย่างคล่องแคล่ว นี่เป็นเทคนิคหนึ่งที่ประยุกต์เข้ากับกลไกลการทำงานของเครื่องจักรนั่นเอง

2.ฉลองให้กับความผิดพลาดและเรียนรู้จากมัน

ไม่มีใครในโลกที่เกิดมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ

สิ่งแรกที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ คือการอาศัยความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรค พบเจอกับความผิดหวังบ้าง และเรียนรู้เมื่อได้ทำผิดพลาด มีงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกสมอง ในปี 2014 รายงานไว้ว่า สมองจะจดจำสิ่งที่เราเคยทำผิดพลาดในอดีตเอาไว้ และจะทำการเรียกคืนความทรงจำเหล่านั้นมาใช้ภายหลัง เพื่อที่จะไม่ทำผิดซ้ำอีก เช่นเดียวกันกับการเรียนรู้ของเด็ก หากพ่อแม่คอยสอนไม่ให้ตัวเด็กลองทำความผิด หรือหลีกเลี่ยงให้เด็กเรียนรู้การทำผิดพลาด เด็กก็จะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และไม่กล้าทำสิ่งใดๆเลย

3.การมองโลกในแง่ดีช่วยให้ประสบความสำเร็จได้

อุปสรรคของการเรียนรู้ คือ การกดดันหรือการบังคับเด็กมากๆ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พวกเขากลายเป็นคนเก็บตัวและขี้กังวล ท้ายที่สุดพวกเขาจะไม่กล้าลงมือทำอะไรด้วยตัวเองเลย

“ความกังวล คือ อุปสรรคหลักที่ขัดขวางไม่ให้เกิดการแก้ปัญหา”

นักจิตวิทยาด้านสมองทำการวิจัยและพบว่า หลังจากที่คนเราได้ลองแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดแล้ว จะช่วยทำให้เราประสบความสำเร็จในสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น ฉะนั้น เราขอแนะนำคุณว่า ในฐานะที่คุณเป็นพ่อแม่ ควรสอนให้เด็กคิดและเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตัวเอง ให้พวกเขาได้ลองผิดลองถูกบ้าง เพราะมันจะช่วยให้เด็กมีความอดทนเมื่อต้องเจอกับอุปสรรค

4.มองความน่าเบื่อ ให้เป็นเรื่องสนุกและตื่นเต้น

ตามธรรมชาติของเด็กมักจะชอบทำอะไรแผลงๆหรือบ้าบิ่น  แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เขาก็มักจะลืมความสนุกเหล่านั้น ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่าปล่อยให้พวกเขาเติบโตขึ้นไปและลืมความสนุกเหล่านั้น คุณอาจคงเคยสังเกตว่า เด็กๆมักจะถูกชมเชย เมื่อพวกเขาจดจำบ้านของคุณยายได้ หรือแม้แต่จำกางเกงขาสั้นสีเหลืองที่คุณพ่อใส่วิ่งในตอนกลางคืนได้  นั่นเป็นเพราะระบบสมองของพวกเขาจดจำแต่สิ่งที่เด่นๆนั่นเอง อีกตัวอย่างหนึ่งคือ แชมป์ที่ชนะเลิศการแข่งขันจำไพ่ทั้งสำรับในเวลาไม่ถึง 2 นาที เขามักมีกลวิธีจดจำไพ่ในรูปแบบของการจำภาพตลกๆ และเด็กๆก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ในการจดจำตารางเรียน หรือแม้แต่หน้าของประธานาธิบดีก็ตาม

5.การอ่านเร็วช่วยให้จดจำได้เร็ว

นักอ่านยิ่งคุณอ่านเร็วมากเท่าไร คุณจะยิ่งเรียนรู้ได้เร็วเท่านั้น

แม้คุณอาจจะคิดว่าการอ่านหนังสือแบบรวดเร็วจะต้องใช้ความพยายามอย่างสูง แต่ไม่ต้องห่วง เพราะระบบสมองของคุณมีวิธีการจัดการกับมัน การฝึกสมองให้อ่านคำด้วยความรวดเร็วนั้น ควรเริ่มจากอ่านเป็นแถวยาวๆให้ชินก่อน ไม่ใช่อ่านไปทีละคำ เพราะนั่นจะยิ่งทำให้สมองของเราทำงานได้ช้าลง

6.ฝึกฝน ฝึกฝน และก็ ฝึกฝน

ทำงานยิ่งเราปล่อยให้สมองทำงานหนัก ๆ ก็จะยิ่งทำให้มันมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ในปี 2014 มีการตีพิมพ์งานวิจัยลงนิตยสาร Nature พบว่าการเล่นมายากลจะทำให้เซลล์สมองทำงานมากขึ้น แต่ก็ไม่มีอะไรพิเศษในการเล่นมายากลหรอก เพราะ มันเป็นเพียงการทำซ้ำไปซ้ำมาจนคล่องแคล่ว นักจิตวิทยาทางด้านสมองมองว่า เมื่อคุณฝึกทำอะไรซ้ำๆ ทำบ่อยๆ จนคล่องแคล่ว ท้ายที่สุดแล้วคุณจะเป็นเลิศในด้านนั้นได้ หรือพูดโดยสรุปว่า ทักษะย่อมเป็นไปตามการฝึกฝนนั่นเอง

7.ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่

หากเด็กๆต้องเผชิญกับปัญหาใหม่ๆที่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร พ่อแม่ควรจะสอนให้พวกเขานำประสบการณ์ที่มีมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่นี้ เราเรียกการฝึกเด็กโดยวิธีนี้ว่า การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง นั่นเอง เด็กๆอาจจะชอบการเตะฟุตบอล แต่พวกเขามักมีปัญหาเรื่องการยิงประตู ดังนั้นหากพวกเขามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องเส้นโค้งและความเร็วบ้างล่ะก็ นั่นอาจทำให้สมองของเขาเอาความรู้ด้วยนี้มาเชื่องโยงและประยุกต์ใช้ได้

8.การแก้ไขสิ่งต่างๆไม่ได้แปลว่าสิ่งนั้นแย่

เด็กๆควรเรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาที่ยากๆ และผลการกระทำจะเป็นสิ่งที่สอนพวกเขาเอง แต่ก็มีหลักฐานจากงานวิจัยหนึ่งกล่าวว่า การใช้เวลาแก้ปัญหานานเกินไปอาจจะทำให้ปัญหานั้นแย่ลงได้ ในปี 2008  มีผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ในตอนแรกอาการที่คนเราคิดอะไรไม่ออกแต่ติดอยู่ที่ปลายลิ้น (tip-of-the-tongue moments) หรือการนึกเหตุการณ์คุ้นๆ แต่ก็นึกยังไงก็ไม่ออก ปัญหานี้ยังไม่เคยถูกแก้ปัญหาจากนักจิตวิทยาท่านใดได้เลย จนกระทั่งปัญหานี้ถูกคลายปมเมื่อมีคนกล่าวว่า จริงๆแล้วคุณรู้ว่ามันคืออะไร เพียงแต่นึกไม่ออกแค่นั้นเอง หากคุณอยากรู้ก็แค่ลองหาคำตอบนั้นให้เจอ โดยอาจจะลองเสิร์ช Google ดูก็ได้

9.การสอนผู้อื่นคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฎการณ์ย้อนกลับ หากคุณมีความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำมาถ่ายทอดโดยภาษาของตัวเอง มันไม่เพียงแต่จะทำให้คุณได้ฝึกฝนทักษะนั้น แต่ยังช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้งมากขึ้นอีกด้วย สังเกตง่ายๆเลย หากคุณลองไปสอนคนอื่น ยิ่งคุณพยายามหาคำพูดให้คนอื่นๆเข้าใจให้ง่ายที่สุด นั่นจะยิ่งทำให้คุณเข้าใจมันได้ดีกว่าเดิมด้วย นี่อาจจะเป็นที่มาของคำที่ว่า อาบน้ำร้อนมาก่อน เช่น คนที่ชำนาญและผ่านประสบการณ์มายาวนานมักจะเก่งกว่าคนรุ่นหลัง เพราะพวกเขาได้ผ่านประสบการณ์ต่างๆรวมทั้งการลองผิดลองถูกมาก่อน แล้วนำมาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังเข้าใจง่ายๆ