ทำอย่างไรคุณจึงจะสามารถจดจำสิ่งที่คุณเรียนรู้ได้มากถึง 90%

12297

คุณปรารถนาที่จะเรียนรู้ได้เร็วขึ้นอยู่ใช่ไหม? ไม่ว่าคุณจะกำลังเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกเครื่องดนตรีใหม่ๆ หรือกีฬาที่ยังไม่เคยได้ลอง เราทุกคนสามารถที่จะใช้วิธีการเรียนรู้แบบเร่งรัดได้ เพื่อกอบโกยความรู้ต่างๆ แต่ปัญหาก็คือมันจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมากต่อวัน

หัวใจหลักของแนวคิด การเรียนรู้เชิงเร่งรัด นั้น ไม่ใช่แค่การต้องใช้เวลาให้มากขึ้นในการเรียนรู้ แต่คือการทำให้เวลาที่ถูกใช้ไปกับการเรียนรู้เกิดผลลัพธ์สูงสุดและคุ้มค่ามากที่สุด

เปรียบเสมือนน้ำและถังใส่น้ำ

น้ำ

สมมติว่าคุณต้องการที่จะเติมน้ำลงไปในถัง ถังใส่น้ำโดยทั่วไปแล้วควรจะกักเก็บน้ำได้อย่างดีตามหน้าที่ของมัน จนกระทั่งมันเริ่มถูกเติมน้ำลงไปจนล้นถัง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว นี่ไม่ใช่วิธีการทำงานของสมอง เพราะว่าข้อมูลส่วนมากที่เราได้รับถ่ายทอดสู่สมองนั้นมักจะซึมออกไปในที่สุด แทนที่จะมองว่าความทรงจำของสมองเรานั้นคือถังเก็บน้ำที่กักเก็บทุกๆ อย่างเอาไว้ แต่ให้ลองมองใหม่ว่าสมองของเรานั้นก็คือถังน้ำที่มีรอยรั่วอยู่

ถังเก็บน้ำที่มีรอยรั่ว

แม้ว่าการเปรียบเปรยว่าสมองเราเหมือนถังน้ำที่มีรอยรั่วอาจจะฟังดูแปลกๆ แต่มันคือความจริง สมองของคนเรานั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้จดจำได้ทุกๆ อย่างที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือประสบการณ์ต่างๆ เว้นแต่ว่าคุณจะเกิดมาพร้อมกับความสามารถพิเศษในการจดจำทุกสิ่งได้ราวกับภาพถ่าย

ทำอย่างไรถึงจะสามารถจดจำทุกๆ สิ่งที่เรียนรู้มาได้ถึง 90%?

จากการศึกษา ปีระมิดแห่งการเรียนรู้ ในช่วงยุค 60 ซึ่งถูกวิจัยโดยสถาบัน NLT เมืองเบธเอล รัฐเมน สหรัฐอเมริกา ได้สรุปวิธีการที่มนุษย์เรียนรู้ไว้ดังนี้

โดยจากผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มักจะจดจำ:

  • 5% คือ สิ่งที่พวกเขาจำได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียน เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
  • 10% คือ สิ่งที่พวกเขาจำได้จากการอ่านหนังสือ หรือบทความ
  • 20% คือ สิ่งที่พวกเขาจำได้จากการรับรู้ผ่านสื่อโสตทัศน์ เช่น แอฟพลิเคชั่น หรือวิดีโอ
  • 30% คือ สิ่งที่พวกเขาจำได้จากการดูการสาธิตต่างๆ
  • 50% คือ สิ่งที่พวกเขาจำได้จากการเรียนรู้ผ่านการอภิปรายแบบกลุ่ม
  • 75% คือ สิ่งที่พวกเขาจำได้จากการฝึกฝนสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
  • 90% คือ สิ่งที่พวกเขาเอาเรื่องที่ได้เรียนรู้นำไปใช้ทันที หรือนำไปถ่ายทอดให้คนอื่นๆต่อไป

Learning-Pyramid

ในปัจจุบันเราเรียนรู้กันอย่างไรล่ะ?

หนังสือ การฟังบรรยายในห้องเรียน วิดีโอ หรือวิธีการเรียนรู้ที่ไร้ซึ่งการสื่อสารระหว่างกันและกันนั้น 80% – 95% ของข้อมูลที่เรียนรู้มักให้ผลในเชิงเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา หรือเรียกได้ว่าไร้ประสิทธิภาพ

ประเด็นก็คือ แทนที่จะบังคับให้สมองของเราจำข้อมูลต่างๆ ให้ได้มากจาก “การเป็นผู้รับข้อมูล” เพียงอย่างเดียว เราควรทุ่มเทเวลา กำลัง และทรัพยากรต่างๆ ที่มีไปกับ “การมีส่วนร่วม” จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า พร้อมกับใช้เวลาที่น้อยกว่าด้วย

ซึ่งหมายความว่า…

  • หากคุณอยากฝึกพูดภาษาต่างประเทศ คุณควรที่จะหมั่นฝึกสนทนากับเจ้าของภาษาในแบบที่ได้เผชิญหน้ากันและสามารถโต้ตอบกับคุณได้ทันที (แทนที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านสื่อต่างๆ)
  • หากคุณต้องการที่จะมีรูปร่างที่ดีสมดั่งปรารถนา คุณควรจะลองหาเทรนเนอร์ส่วนตัวไว้ปรึกษา และให้คำแนะนำคุณในเรื่องนี้อย่างจริงจัง (แทนที่จะชมวิดีโอออกกำลังกายผ่านยูทูป)
  • หากคุณต้องการลองฝึกฝนเล่นดนตรีชิ้นใหม่ๆ คุณก็ควรจะเรียนจากคุณครูสอนดนตรีหรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับคนที่เก่งดนดรี

เวลา หรือ เงิน?

หลายต่อหลายครั้งที่คุณมักจะได้ยินใครสักคนพูดว่า “ฉันไม่มีเวลาให้กับ…”

แต่เวลาคือสิ่งที่ทุกคนมีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ หรือพยายามทำให้สิ่งใด เราทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันในทุกๆ วัน ซึ่งเวลาไม่เหมือนกับเงิน เพราะทุกๆ นาทีนั้นมีความเป็นหนึ่งเดียว และเมื่อมันเสียไปแล้ว ไม่มีทางที่จะทวงคืนมาได้อีก

เวลา

“คุณอาจจะเชื่องช้า แต่เวลาไม่ได้เชื่องช้าไปกับคุณ” ― เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)

เราทุกคนต่างมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ทำไมความสำเร็จของแต่ละคนถึงไม่เท่ากัน? ความสำเร็จของมหาเศรษฐีอายุน้อยผู้ที่เริ่มต้นจากการไม่มีอะไรเลย หรือนักเรียนที่เก่งภาษาที่เริ่มจากการเป็นแค่ผู้เริ่มหัดพูดไปสู่ความสามารถที่จะพูดภาษาได้อย่างคล่องแคล่วภายในเวลาเพียงแค่สามเดือน ก็เพราะพวกเขาเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดประสิทธิผลที่สูงสุด

ยกตัวอย่างเช่น บุคคลกลุ่ม A ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการเรียนรู้ภาษาหนึ่ง และสามารถจดจำได้ถึง 90% ของเรื่องที่เขาเรียนรู้ ส่วนบุคคลกลุ่ม B ใช้เวลาถึงเก้าชั่วโมงแต่กลับจำจำได้เพียง 10% จะสังเกตได้ว่า กลุ่ม B ต้องใช้เวลามากกว่ากลุ่ม A ถึง 9 เท่า เพื่อที่พวกเขาจะสามารถจดจำเรื่องที่เรียนรู้ให้เท่ากลุ่ม A

ซึ่งวิธีที่จะช่วยลดเวลาฝึกฝนของเราให้น้อยลงและได้ประสิทธิผลสูงสุด ไม่ใช่การมุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายเล็กๆ เช่น การดูวิดีโอการสอน บนยูทูปเพียงแค่ 10-15 นาที (ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะน้อย เวลาฝึกฝนก็จะต้องมากตาม) แต่หากเรามุ่งเป้าหมายไปจุดที่ใหญ่กว่า อย่างเช่นการเลือกวิธีการที่ดีที่สุดตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การลงทุนในการเรียนรู้จากผู้รู้ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลสูงและสามารถลดเวลาฝึกฝนได้เป็นเดือนๆ (ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมาก เวลาฝึกฝนก็น้อยลง)  ซึ่งดีกว่าการใช้เวลาเป็นปีๆ ไปอย่างไม่คุ้มค่ากับความยากลำบาก ความผิดพลาด และสำคัญที่สุดคือ ไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปเลย

มันคือการตอบโจทย์ที่ว่า เวลาที่เรามีนั้นจำกัด เราต้องมุ่งความสนใจไปที่วิธีการที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และเลือกที่จะเพิกเฉยต่อวิธีการอื่นๆ ที่ให้ผลลัพธ์น้อยกว่า

ความสามารถที่จะคงไว้ซึ่งความรู้ในยุคที่การเข้าถึงข้อมูลเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำกัดนี้ คือพลังที่แข็งแกร่งที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

เราทุกคนแก่ลงในทุกวันๆ แต่วันนี้ ตอนนี้ และเวลานี้ คือเวลาที่คุณยังคงมีความเยาว์วัยมากที่สุด คำถามก็คือ แล้วคุณจะปล่อยให้ช่วงเวลาชีวิตวัยเยาว์นี้เสียไปอย่างไร้ประสิทธิผลเหรอ?

 

Source : Life Hack