5 วิธีง่าย ๆ ในการเอาชนะ “ความกลัวความล้มเหลว”

8162

คุณเคยรู้สึกกลัว ที่จะต้องพบเจอกับความล้มเหลวจนคุณไม่กล้าที่จะลองทำอะไรเลยไหม? หรือความกลัวของคุณทำให้คุณพยายามน้อยลง เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความล้มเหลวที่ร้ายแรงยิ่งกว่า?

โรคกลัวความล้มเหลวเหล่านี้ จะทำให้เราหยุดนิ่ง ไม่ยอมทำอะไร และทำให้เราไม่กล้าเดินไปข้างหน้าซักที ซึ่งมันก็รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ เหล่านี้ด้วย ได้แก่ :

  • การไม่อยากลองทำอะไรใหม่ ๆ
  • การผลัดวันประกันพรุ่งหรือการไม่ยอมทำตามเป้าหมาย
  • การมีความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจในตนเองต่ำ เช่น “ฉันไม่มีทางเก่งพอที่จะไปอยู่ในจุด ๆ นั้นได้หรอก” หรือ “ฉันไม่ฉลาดพอที่จะทำงานกับคนกลุ่มนั้นหรอก”
  • ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ จนทำให้คุณมักทำแต่สิ่งที่คุณทำได้ดีเท่านั้น

ความล้มเหลว

ซึ่งด้านดีของความล้มเหลวมันก็มีอยู่ มันขึ้นอยู่กับมุมมองของเราเองด้วยว่า เราเลือกที่จะมองความล้มเหลวให้เป็น “จุดจบ” หรือมองมันให้เป็น “ประสบการณ์” ที่ทำให้เราโตขึ้นและเรียนรู้ที่จะไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก

คุณรู้ไหมว่า? สตีฟ จ็อบส์ เคยถูกไล่ออกจากบริษัท Apple ที่เขาสร้างมากับมือ เมื่อปี ค.ศ. 1985 และในปี ค.ศ. 1997 เขาก็กลับมาได้อีกครั้งพร้อมกับประสบการณ์ เขาได้เรียนรู้จากความล้มเหลวนั้น ซึ่งคุณคงรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ทั้ง iPod, iTunes, iPhone, iPad ที่พวกคุณรู้จักกันดีในปัจจุบัน ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

ความล้มเหลว

การเอาชนะความกลัว

การเผชิญหน้ากับความกลัวด้วยการวิ่งเข้าหามัน เป็นความกล้าหาญอย่างหนึ่ง แต่หากคุณยังไม่พร้อม ลองอ่านวิธีข้างล่างนี้ดู นี่คือ 5 วิธีที่จะช่วยทำให้คุณหยุดกลัวความล้มเหลวได้

1. วิเคราะห์ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น

หลายคนกลัวความล้มเหลวเนื่องจากพวกเขาไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา หรือผลลัพธ์ของการกระทำของพวกเขาจะเป็นอย่างไร ดังนั้น ลองขจัดความกลัวนี้ออกไปด้วยการ นึกถึงผลลัพธ์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของคุณ ทั้งด้านบวกและด้านลบ

2. เรียนรู้ที่จะคิดในแง่บวก

ความคิดแง่บวกเป็นวิธีที่ทรงพลัง ในการสร้างความมั่นใจ และหยุดที่จะลดคุณค่าที่ตนเองนั้นมีอยู่

3. มองให้ลึกไปถึง “เคสที่แย่ที่สุด” ที่อาจเกิดขึ้น

ภาพที่คุณคิดอาจดูเลยร้ายไปหน่อย แต่มันแย่มากขนาดนั้นจริงหรือ? หรือมันอาจจะไม่ใช่อย่างที่คุณคิดก็ได้ เพราะฉะนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของคุณด้วย บางทีเคสที่แย่ที่สุดนั้นอาจไม่ได้ทำให้ชีวิตคุณถึงกับหมดหวังก็เป็นได้

4. มีแผนสำรองไว้ล่วงหน้า

หากคุณกลัวความล้มเหลว ให้คุณลองวางแผนสำรองไว้ล่วงหน้า หรือที่เรียกว่า “Plan B” สำหรับเวลาที่แผนแรกของคุณนั้นไม่ได้ผล คุณก็ยังมีแผนสองไว้รองรับได้ และมันจะช่วยทำให้คุณมีความกล้ามากยิ่งขึ้น

5. ลองตั้งเป้าหมายให้เล็กลง

คุณอาจไม่กล้าแม้แต่การตั้งเป้าหมายเลยหากคุณนั้นกลัวความล้มเหลว ซึ่งทางออกก็คือ ให้คุณลองตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ แล้วก้าวผ่านมันไปเป็นขั้น ๆ เพื่อที่จะทำให้คุณมั่นใจมากขึ้นและสามารถก้าวเดินไปได้เรื่อย ๆ ซึ่งมันจะไม่ทำให้คุณจมไปกับภาพของเป้าหมายใหญ่ ๆ ที่อยู่ไกลตานั่นเอง

“มันก็เหมือนกับการปีนเขา อย่าเพิ่งมองไปที่ยอดเขาอันแสนไกล แต่ให้ตั้งใจมองแต่ละเนินข้างหน้าของคุณก็พอ”

 

Source : inc