“Employee Engagement” บริษัทจะสำเร็จได้ ต้องมีสิ่งนี้

1278

ในช่วงนี้มีคำอยู่คำนึง ที่มาแรงมากๆ ในโลกธุรกิจ นั่นก็คือ “Employee Engagement” หรือความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโควิด 19 พนักงานจำนวนมากก็เริ่มทำงานจากที่บ้าน (Work Form Home) หรือทำงานระยะไกล (Working remotely) ซึ่งก็เป็นสาเหตุให้พนักงานหลายคนรู้สึกเหนื่อยล้าเป็นพิเศษ (Burn Out) และรู้สึกไม่สดใสเหมือนตอนมาทำงานที่ออฟฟิศ

Jim Harter, Ph.D, Chief Scientist in Workplace Management and Well-being for Gallup

Jim Harter หัวหน้าแผนกวิทยาศาสตร์ในที่ทำงานของบริษัท Gallup ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มายาวนานกว่า 20 ปี เขาพบว่าในปีที่ผ่านมาระดับความผูกพันต่อองค์กรในแต่ละบริษัท มีความผันผวนเป็นอย่างมาก

ความผูกพันต่อองค์กรมีผลกระทบโดยตรงกับตัวบริษัท เพราะมันสามารถใช้วัดพนักงานว่าพวกเขามีความกระตือรือร้นในหน้าที่การงานมากน้อยแค่ไหน

ทีมของ Harter วิเคราะห์ข้อมูลจากพนักงานกว่า 100,000 คนในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กร และความสำเร็จของบริษัท พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรสูงมีระดับการขาดงานและการลาออกที่ต่ำกว่า และมีระดับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทรวมถึงคุณภาพชีวิตของพนักงาน และ productivity ที่สูงกว่า

เป็นเรื่องที่รู้กันดีว่า ในช่วงนี้พนักงานโฟกัสกับงานของพวกเขาได้ยากขึ้น เพราะวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหันรวมถึงความท้าทายต่างๆ ทั้งเรื่องส่วนตัวและครอบครัว ที่เกิดจากปัญหาไวรัสระบาด ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและ productivity ของพวกเขา และยังประกอบไปด้วยความเครียดที่เกิดจาก เศรษฐกิจ และการเมืองต่างๆ ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้

“เราพบว่าความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้” Harter กล่าว “วิธีที่คุณใช้จัดการกับองค์ประกอบต่างๆ ของความผูกพันต่อองค์กรมีความสำคัญอย่างมาก เมื่อบริษัทของคุณใช้นโยบาย work from Home”

Harter ได้เล่าถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่บริษัทต่างๆ ต้องดำเนินการในตอนนี้เพื่อรักษาบุคลากรให้มีสุขภาพที่ดี และมี productivity

 

1. เริ่มจากตำแหน่งสูง

ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมักถูกมองว่าเป็นปัญหาในด้านทรัพยากรบุคคล(HR) แต่จริงๆ แล้วมันเริ่มต้นตั้งแต่ซีอีโอและคณะกรรมการของบริษัท ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าพนักงานทุกระดับมีความรู้สึกอย่างไร

ตัวอย่างเช่นที่ Hilton ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ได้ให้ผู้นำระดับสูงและคณะกรรมการเข้าร่วมโปรแกรม 3 วัน ในการทดลองทำงานระดับล่าง และมีส่วนร่วมในงานหลังบ้านเพื่อทำความเข้าใจข้อกังวลของพนักงาน ปรัชญาของบริษัทเองก็สนับสนุนความมุ่งมั่นนี้ โดยบริษัทมีพันธกิจว่า “hospitality for all การต้อนรับเพื่อทุกคน” ไม่เพียงแต่หมายถึงแขกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานของบริษัทด้วย

สิ่งสำคัญคือ บริษัทต่างๆ ต้องสื่อสารว่าพวกเขาใส่ใจในพนักงานมากแค่ไหน…

 

2. ส่งเสริมการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและความเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร

ในการทำงานแบบ Work From Home การส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดกว้างเป็นสิ่งสำคัญ Harter กล่าว เขาแนะนำให้ตั้งระบบที่พนักงานสามารถได้รับข้อเสนอแนะที่มีความหมายจากหัวหน้าได้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานได้รับข้อมูลอัปเดทเกี่ยวกับบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

Harter ยังแนะนำให้ บริษัทต่างๆ ส่งเสริมการเป็นพนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมที่บริษัทสนับสนุน

เราได้เห็นตัวอย่างของการเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรแล้ว ตัวอย่างเช่น บริษัท Canva (บริษัทที่ทำเครื่องมือออกแบบกราฟิกออนไลน์) บริษัทนี้เชื่อมต่อพนักงานของบริษัท ผ่านกิจกรรม Movie Night คืนภาพยนตร์เสมือนจริง พนักงานสามารถโหวตหนังที่ตัวเองชอบเพื่อดูร่วมกันพนักงานคนอื่นๆ ในเวลาเดียวกันในคืนนั้น หลังจากหนังจบก็จะมีการสนทนากลุ่ม ใน Slack เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ได้รับชมไป

และยังมีบริษัทอื่นๆ ที่จัดชมรมอ่านหนังสือ หรือเกมออนไลน์สำหรับพนักงานเป็นประจำ “องค์กรต่างๆ ต้องพยายามดึงพนักงานให้มาเชื่อมต่อกันให้มากขึ้น” Harter กล่าว

 

3. พัฒนาระบบความรับผิดชอบที่แข็งแกร่ง

เมื่อคุณระบุปัญหาของบริษัทได้แล้ว คุณต้องวางระบบเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาจะถูกแก้ไขจริง สิ่งนี้เรียกว่า “ระบบความรับผิดชอบ” และเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่ม productivity และความสุขของพนักงาน

Harter กล่าวว่า ผู้จัดการต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่วัตถุประสงค์และคุณภาพของงานเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานพวกเขาด้วย

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ใช่แค่ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรแล้วให้พนักงานกรอก เสร็จแล้วก็จบๆ ไป ผู้จัดการจำเป็นต้องดึงข้อมูลจากแบบสำรวจมาวิเคราห์เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานรู้สึกมี productivity และปลอดภัยในองค์กร นอกจากนี้ยังต้องรับผิดชอบในกาดูแลขวัญกำลังใจของพนักงานด้วย

 

Source: Business Insider