3 กฏการทำงานของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ที่ช่วยให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

12836

“ในสภาพการณ์ที่ยุ่งเหยิง จงมองหาความเรียบง่าย ในความขัดแย้งที่ไม่ลงรอย จงหาความปรองดอง ท่ามกลางวิกฤติย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ” — Albert Einstein

ตลอดช่วงชีวิตของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เขามักขลุกอยู่กับการค้นหาวิธีต่างๆ ที่ให้ทำเรื่องยุ่งยากๆ กลายเป็นเรื่องที่ง่าย เขาเป็นอัจฉริยะในหลากหลายด้าน ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ การค้นพบสิ่งใหม่ในโลก รวมถึงวิธีคิดและจินตนาการของเขาที่มีอย่างไม่สิ้นสุด

และแนวทางการทำงานทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้ที่ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้นี้เอง ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ ไปชมกัน!

1. ในสภาพการณ์ที่ยุ่งเหยิง จงมองหาความเรียบง่าย

พยายามกำจัดสิ่งที่คุณไม่ต้องการหรือไม่จำเป็นออกไป จงรับรู้ถึงความวุ่นวายในชีวิตแล้วกำจัดมันออกไปเสียบ้าง บางทีความยุ่งเหยิงภายนอกอาจดูได้ง่ายๆ จาก สิ่งของ เสื้อผ้า นิตยสารเก่า ของที่ระลึกจากการเดินทางต่างๆ

คำถามก็คือ ‘ทำไมเราต้องไปยึดติดกับสิ่งของในอดีตล่ะ?’ บางครั้ง นี่อาจเป็นความกลัวที่ฝังอยู่ในใจ ไม่ว่าจะเป็นกลัวความอดอยาก หรือกลัวการถูกทอดทิ้ง สูญเสีย หรือว่าอาจจะเป็นความหวังเล็กๆ ในใจ เช่น การหวังว่าจะลดน้ำหนักให้พอดีกับเสื้อผ้าที่เคยใส่ได้ หรือยังเก็บรูปภาพเก่าๆ ที่ทำให้นึกถึงความรักที่จบไป และหวังว่าอาจจะได้กลับไปแก้ไขอดีตอีกครั้ง

นอกจากนี้ก็ยังมีอีกความวุ่นวายหนึ่ง ก็คือ ความวุ่นวายทางความคิดและอารมณ์ คุณต้องกำจัดความวุ่นวายเหล่านี้ออกไปให้ได้ นี่เป็นเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในชีวิตมนุษย์ เป็นผลจากการเสียดายสิ่งที่ไม่ได้ทำ สิ่งทำให้เจ็บปวดในอดีต ความล้มเหลว หรือตรงกันข้าม ก็คืออาจจะเป็นความสำเร็จที่เคยผ่านมา หากสิ่งเหล่านี้ยังยึดติดวนเวียนอยู่ในสมองของเรา ก็จะทำให้สมองไม่สามารถคิดอะไรใหม่ ๆ ได้เลย

2. ในความขัดแย้งที่ไม่ลงรอย จงหาความปรองดอง

นี่คือคาถาวิเศษสำหรับความสัมพันธ์ทุก ๆ รูปแบบ เพราะทุกความสัมพันธ์มักมีความไม่ลงรอยกันเกิดขึ้นเสมอ ความสามัคคีคืออะไร? ความสามัคคีไม่ใช่แค่การที่ “ที่ทุกคนยอมรับสิ่งนั้น” แต่มันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องทำเมื่อความสัมพันธ์ของเราและอีกคนหนึ่งมาถึงถึงทางตัน หากทั้งสองคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ เราก็จะสามารถก้าวผ่านปัญหาร่วมกันไปได้

ความไม่ลงรอยกันหมายความว่า ทุกคนตัดสินใจที่จะไปตามทางของตนเองและไม่ใส่ใจกับความต้องการของอีกฝ่าย ซึ่งนี่เป็นวิธีการคิดแบบ “my way or the highway” (ไม่ทำตามฉัน ก็ออกไปซะ)

ยกตัวอย่างความสามัคคีในวงประสานเสียง คุณจะได้ยินเสียงทั้งหมด ไม่ใช่เสียงของแต่ละคน ทุกคนต่างร้องเพลงตามโน้ตแบบเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าบางคนอาจจะต้องใช้เวลาในการหายใจเข้า และคนอื่น ๆ ยังสามารถร้องทดแทนในช่วงเวลานั้นได้โดยไม่หยุดชะงัก ความสามัคคียังช่วยในการพัฒนาตัวเราและคนอื่นไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย

3. ท่ามกลางวิกฤติย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ

กล้ามเนื้อที่เคยเจ็บปวด ความแข็งแรงย่อมเพิ่มขึ้น คนที่ทำงานผิดพลาดบ่อย บทเรียนย่อมเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลายครั้งเมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ธรรมชาติจะสั่งให้มันยอมแพ้ไปเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องอยู่สู้กับมันให้ได้ ความผิดพลาดและความล้มเหลวช่วยในการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ได้ดีกว่าการไม่เคยล้มเหลวเลยเสียอีก ดังที่บรรดานักคิดที่ยิ่งใหญ่มากมายมักเคยกล่าวไว้  ส่วนไอน์สไตน์ ก็พูดไว้เพียงประโยคสั้น ๆ เช่นกันว่า “ท่ามกลางวิกฤติย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ

ไอน์สไตน์โน้มน้าวให้เราทุกคนเข้าสู่สภาวะที่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่สำหรับความสำเร็จทางวัตถุ แต่เป็นความจริงที่ว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาจมีอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องได้ แต่อย่าพยายามหนีออกจากช่วงเวลาที่ยากลำบาก แล้วคอยมองดูตัวเองแข็งแกร่งขึ้น มีสติมากขึ้น … และฉลาดมากขึ้นจะดีกว่า

ถ้าไอน์สไตน์ทำได้ คุณก็ต้องทำได้

Source : Inc