
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 สถาบันสอนการบริหารธุรกิจ INSEAD แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้ร่วมกันจัดตั้ง Global Innovation Index หรือ การจัดอันดับประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก เป็นประจำทุกปีๆ โดยเหล่าประเทศแนวหน้าของปีนี้ ล้วนแต่เป็นที่คุ้นเคยกันดี และเป็นที่ยอมรับว่าความก้าวหน้าทั้งด้าน การศึกษาวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน สถาบันต่างๆ ด้านธุรกิจและการตลาด และด้านความรู้ความสร้างสรรค์ ประเทศเหล่านี้จะมีระบบการศึกษาที่สร้างสรรค์ มีระบบกฎหมายที่ก้าวหน้า เป็นผู้นำด้านธุรกิจ และเรียกได้ว่าล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นๆ แทบทุกด้าน
เรามาดูกันว่าทั้ง 16 ประเทศที่ว่ามีประเทศไหนกันบ้าง? ไปชมกัน!
16. ฮ่องกง
ฮ่องกงตกลงมา 9 อันดับจากปี 2013 และยังคงตกลงเรื่อยๆ ทุกปี เนื่องจากความเสื่อมถอยของระบบสิทธิบัตร และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงยังคงมีอิทธิพลสูงในระบบเศรษฐกิจโลก เนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและตลาดการค้าและการลงทุนที่ยังมั่นคงเข็งแรง
15. ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสได้เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปี 2016 จุดแข็งของประเทศนี้คือการมีตลาดเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยเฉพาะ บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน (venture capital deals) นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ในเรื่องการศึกษาวิจัยและพัฒนาประเทศด้วย
14. ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักดีในด้านเทคโนโลยีและการผลิต และยังนำมาเป็นอันดับหนึ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานสังคม และระบบการจดสิทธิบัตรด้วย
13. ไอซ์แลนด์
จากที่เคยตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ไอซ์แลนด์ได้ผงาดกลับมาโดยหวังจะเป็นผู้นำในการจัดเก็บข้อมูลอินเตอร์เน็ตของโลก และอยู่ในอันดับที่ 13 มาสามปีติดต่อกันแล้ว
12. ลักเซมเบิร์ก
ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ เนื่องจากโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างเช่น ภาพยนตร์และหนังสือมากมาย
11. เกาหลีใต้
จากการจัดอันดับ นวัตกรรมที่เด่นที่สุดของเกาหลีใต้ คือ ด้านการศึกษา รวมไปถึงด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาประเทศที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
10. ไอร์แลนด์
แม้จะตกลงมาสามอันดับจากปี 2016 ไอร์แลนด์ก็ยังคงเป็นที่จับตามองในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน และผลงานสร้างสรรค์ เช่น วัฒนธรรมการออกแบบ (design culture) ที่กำลังก้าวหน้าอย่างมาก
9. เยอรมนี
เยอรมนีเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับสูงสุดในด้านสิทธิบัตร และมีฐานอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอันแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในด้านยานยนต์
8. ฟินแลนด์
จากที่อยู่ในอันดับ 5 มาโดยตลอดฟินแลนด์ได้ร่วงลงมาในปีนี้ เนื่องจากด้านเทคโนโลยีและการศึกษาวิจัย ที่ลดลง แต่ก็ยังคงครองอันดับหนึ่งในด้านการศึกษาได้โดยตลอด
7. สิงคโปร์
สิงคโปร์คือหนึ่งในประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆ มาตลอด ด้วยจุดเด่นด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง และการให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์แบบยั่งยืน
6. เดนมาร์ก
เดนมาร์กนำหน้าในเรื่องของระบบรัฐบาลที่มีสเถียรภาพ การมีนักวิจัยจำนวนมาก และคุณภาพการศึกษา โดยได้เลื่อนขึ้นมาสองอันดับจากปี 2016
5. สหราชอาณาจักรฯ
สหราชอาณาจักรฯ ประสบความสำเร็จด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบทางรถไฟ ซึ่งช่วยผลักดันให้ประเทศเข้ามาอยู่ในอันดับต้นๆ อย่างไรก็ดี ผลการประเมินด้านการศึกษาและผลผลิตนั้นยังต่ำอยู่
4. สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาครองตำแหน่งในอันดับที่ 4 มาตั้งแต่ปี 2016 เนื่องจากการครองอำนาจในตลาดโลก มูลค่าการซื้อขายหุ้น และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก
3. เนเธอร์แลนด์
เนื่องจากมีการจดสิทธิบัตรเป็นจำนวนมาก ทำให้เนเธอร์แลนด์ครองอันดับสูงสุดในด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังตามอันดับสูงสุดมาติดๆ ในด้านการศึกษาและเทคโนโลยี อย่าง สิ่งประดิษฐ์ และเครื่องหมายการค้าต่างๆ
2. สวีเดน
มหาวิทยาลัยในสวีเดนล้วนถูกออกแบบมาอย่างดี ทั้งยังผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ประเทศคงอยู่ในสามอันดับต้นๆ มาตลอดระยะเวลาหกปีที่ผ่านมา
1. สวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ติดอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ปี 2011 เนื่องจากการมีเศรษฐกิจ ฐานความรู้ และการหารายได้จากนวัตกรรม เช่น ธนาคารท้องถิ่น UBS ที่ปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเสมือนจริง (VR) มาใช้ในการนำเสนอพอร์ตการลงทุน (investemnt portfolio) แก่ลูกค้าด้วย
Source : Business Insider