ฝังความคิดลงในระบบ “ออโต้ไพลอต” ของสมอง ทำให้คุณตัดสินใจเร็วขึ้น!

1934

ครั้งแรก ๆ ที่พอเราได้เรียนรู้อะไรที่ตั้งใจและจดจ่อ เราก็จะใช้ความคิดมากเป็นพิเศษ อย่างเช่นเรียนขับรถครั้งแรก แต่พอเมื่อขับเป็นแล้ว เกิดความคุ้นชินหรือคุ้นเคย เราก็แทบจะไม่ได้ใส่ใจกับดีเทลว่า เราควรจะเข้าเกียร์ตอนไหนนะ เหยียบเบรกเมื่อไหร่ เพราะสมองของเรา ได้มีระบบ “ออโตไพลอต” รองรับอยู่แล้ว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ของสหราชอาณาจักร พบส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ “ออโต้ไพลอต” หรือทำหน้าที่คล้ายกับระบบการบินหรือขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือเรียกในภาษาทางการว่า Default Mode Network หรือ DMN โดยสมองส่วนนี้จะช่วยให้เราทำงานที่คุ้นชินได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่มีพลาด ในเรื่องที่ไม่ต้องมองดูหรือใส่ใจมากนัก อย่างการเดิน หรือขับรถบนเส้นทางประจำของคุณ

ทางวารสาร PNAS ได้ตีพิมพ์ผลการค้นพบดังกล่าวไว้ว่า เครือข่ายอัตโนมัติที่ทำงานเมื่อมีการพักผ่อนหรือ DMN มักจะทำงานขณะที่เราหลับ หรือจิตใจล่องลอยนี้ มีบทบาทในการควบคุมร่างกายของเราอย่างมาก เพราะในการทดลองของพวกเขา ได้ใช้อาสาสมัคร 28 คน เล่นเกมจับคู่ไพ่ โดยกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้น ใช้สี รูปร่าง และตัวเลขเป็นตัวกำหนดความถูกผิด ผู้เล่นจะต้องลองผิดลองถูกเอาเองว่าจะสามารถชนะได้อย่างไร ในระหว่างเกมนั้น จะมีการสแกนตรวจจับการทำงานของสมองส่วนนี้ไปด้วย

นักวิจัยพบว่า ช่วงที่ผู้เล่นยังต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ต่างๆ สมองส่วนความตั้งใจจดจ่อ (Doral Attention Network) ที่อยู่บริเวณด้านหลังนั้น จะทำงานอย่างต่อเนื่องและโดดเด่นกว่าสมองส่วนอื่น ๆ แต่เมื่อผู้เล่นเข้าใจกฎเกณฑ์แล้ว สมองส่วน DMN จะเคลื่อนไหวและทำงานมากกว่าส่วนความตั้งใจจดจ่อ และยังมีความเชื่อมต่อกับสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนของความจำ

การทำงานของระบบออโต้ไพลอตนี้ จะช่วยในเรื่องของการตัดสินใจของมนุษย์ ให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในเวลาที่เรารู้จักกฎและสิ่งแวดล้อมรอบข้างดีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้สมองประหยัดพลังงานโดยไม่ต้องมาวิเคราะห์เรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปมาทุกครั้ง แต่ถ้าหากว่า สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป หรือเกิดการไม่คุ้นชินกับสถานการณ์นั้น ๆ สมองของเราก็จะกลับมาใช้ระบบควบคุมแบบ “แมนนวล” หรือใช้ระบบความตั้งใจจจดจ่ออีกครั้งหนึ่ง

ระบบออโต้ไพลอตนี้ จะช่วยในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยโรคจิตประสาท หรือผู้มีความผิดปกติทางพฤติกรรม อย่างผู้เสพติดสิ่งต่างๆ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือผูมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำได้

 

Source : BBC